อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง








ประวัติความเป็นมาปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถาน สำหรับชาติในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8มีนาคม 2578 ปัจจุบันอดีตกาลพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟซึ่งผ่าน การระเบิดมาแล้วและธรรมชาติก็ได้เปลี่ยนแปลงปล่องภูเขไฟ ให้เป็นแหล่งน้ำซึ่งมี ปริมาณน้ำมากเพียงพอต่อการบริโภคและอุปโภคได้ตลอดปีสำหรับคนโดยทั่วไปและ สำหรับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ขึ้นไปทำสิ่ง ก่อสร้างอันยิ่งใหญ่บนนั้น
"ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง"เป็นศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์ ลัทธิศิวะนิกาย คือการยกเอาพระศิวะเป็นมหาเทพสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16-18ร่วมสมัยกับปราสาทนครวัดซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มหาราชองค์หนึ่งของกัมพูชาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 นั้นเป็นศาสนสถานทาง ศาสนาพราหมณ์ลัทธิวิษณุนิกาย คือการยกเอาพระนารายณ์โดยเหตุที่พระศิวะมีถิ่น ฐานที่สถิตย์ประทับอยู่บนภูเขาพระสุเมร ฉะนั้นการที่บรรพชนในอดีตจะทำสิ่งก่อ สร้างอันยิ่งใหญ่ถวายเป็นที่ประทับของ พระศิวะมหาเทพ จะต้องหาทำเลหรือชัยภูมิ เพื่อจะสมมติว่าคือเขาพระสุเมรุจึงเลือกเอา พนมรุ้งสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพูบนขอบปล่องภูเขาไฟด้านทิศใต้อันเป็นหน ทางอันใกล้สวรรค์มากยิ่งกว่าพื้นราบและหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อรับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นอันเป็นสิริมงคลและพลังอันยิ่งใหญ่ร้อนแรง



ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้น หมาย ถึง พระนารายณ์เทพองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์ บรรทมหลับพักผ่อนอยู่บอนันต นาคราช ณ เกษียรสมุทรโดยมีพระนางลักษมี ซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและเป็นพระมเหสี คอยปรนนิบัติพัดวีมิให้ยุงริ้นไรมาไต่ตอมพระ นารายณ์เพื่อให้บรรทมหลับพักผ่อนให้สบาย เมื่อตื่นบรรทมมาแล้วแล้วและพระพรหมเทพ อีกองค์หนึ่งของศาสนาพราหม์จะเป็นผู้สร้างโลกและทำสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่จึงเริ่มนับ ใหม่ครั้นสิ้นกัลปโลกก็จะแตกดับลงไปเอง พระนารายณ์ก็จะบรรทมหลับพักผ่อนอีกครั้นหนึ่ง


ทางดำเนินสู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง


ทางดำเนิน คือทางเดินก่อนถึงสะพาน นาคราชที่ขึ้นสู่ศาสนสถานปราสาทเขาพนม รุ้ง ณ ทิศเบื้องบนสองข้างทางเดินนี้มีเสา ศิลาทรายทำคล้ายรูปดอกบัวสี่เหลี่ยมปักเรียง รายสองข้างทางเรียกกันมาแต่เดิมว่าเสานาง เรียง เป็นทางเดินสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ขอมโบราณเรียกว่า เสานางจรัญ หากนำเข็ม ทิศมาวางจับจะเห็นว่าทางดำเนินตรงกับแกน ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกโดยไม่คลาดเคลื่อน


เนื่องจากภูมิปัญญาอันชาญฉลาดในการออกแบบและก่อสร้างของปราสาท หินเขาพนมรุ้งได้ตรงตามหลักดาราศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดปรากฎการณ์มหัศจรรย์ทาง ธรรมชาติคือ "แสงอาทิตย์ส่องทะลุซุ้มประตูทั้ง15 บานของปราสาทเขาพนมรุ้ง" ซึ่ง เป็นปรากฏการณ์ที่มีความมหัศจรรย์และสวยงามเป็นอย่างมาก โดยปรากฏการณ์นี้ จะเกิดขึ้นปีละ 4 ครั้ง โดยดวงอาทิตย์ขึ้น ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง 2 ครั้ง และดวงอาทิตย์ตก ตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งอีก 2 ครั้ง โดยปรากฏการณ์นี้ จะเกิดขึ้นทุกๆปี ดังนี้คือ




- ครั้งที่ 1 ดวงอาทิตย์ตกทะลุซุ้มประตู 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง วันที่ 5 -7 มีนาคม ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณเวลา 18.15 – 18.23 น.


- ครั้งที่ 2 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง วันที่ 3 – 5 เมษายนของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 06.05 0 06.13 น.


- ครั้งที่ 3 ดวงอาทิตย์ขึ้นทะลุซุ้มประต 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง วันที่ 5– 7กันยายน ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 06.00 – 06.08 น.


- ครั้งที่ 4 ดวงอาทิตย์ตกทะลซุ้มประตุ 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง วันที่ 5 – 7ตุลาคม ของทุกปี ในช่วงเวลาประมาณ 17.50 – 17.58


โดยปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณวันและเวลาดังกล่าวของทุกปีแต่บางช่วงเวลาอาจจะไม่สามารถมองเห็นได้เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย






ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น








การเดินทาง
• จากอำเภอนางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงสามแยกโรงเรียนบ้านตะโกเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ตรงไปราว 6 กิโลเมตร ถึงบ้านตาเป๊ก แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2221 อีก 6 กิโลเมตร


• รถประจำทาง
รถโดยสารจากกรุงเทพฯ – เขาพนมรุ้ง ลงที่เชิงเขาแล้วต่อรถสองแถวขึ้นปราสาท รถสายบุรีรัมย์ – นางรอง ลงสถานีนางรองแล้วต่อรถสองแถว


แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.nangronghotel.com/phanomrung.html


http://www.oceansmile.com/E/Buriram/Phanomrung.htm





http://www.navagaprom.com/oldsite/Up/panom201.jpg