อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

เขียนโดย ยุ้ย


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต ( Internet ) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่าย โดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ส่งเป็นแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย



การเชื่อมโยงเครือข่ายจะใช้เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สัญญาณไมโครเวฟ สัญญาณจากดาวเทียม ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็ว อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเทอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบบกระจายอำนาจอินเทอร์เน็ต จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริง เครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเองอย่างเป็นอิสระโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วอินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ สมาคมอินเทอร์เน็ต ISOC ( Internet Society )
ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต



การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไปดังนี้
- การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account
- การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และสายสัญญาณเช่า (ตลอด 24 ชั่วโมง)


อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต



1.คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 166 MHz มีหน่วย ความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป
2.โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อกซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
- โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล็อตบนเมนบอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท ์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
- โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็ม ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C

- PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรและหนาเพียง 5 มิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด

3.คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็
4.บัญชีผู้ใช้งาน (Account)
จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)


ลักษณะการเชื่อมต่อแบบบุคคล


การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน (User) หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกัน สัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนจากสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อกผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่งตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเพื่อตรวจสอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่? ถ้าถูกต้องก็จะได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์ รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซทาง WWW ได้ทันที




การเชื่อมต่อแบบองค์กร

จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ (Server) ด้านต่างๆ และมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้




1.คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร

2.ดิจิตอลโมเด็ม (NTU) และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง (Router) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อด้วยหมายเลข IP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ


3.คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ
4.สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลข IP Address ของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำหรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย
การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งานของเครือข่ายสูง มีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิก เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็นจำนวนมาก มีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนปริมาณมาก และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ



แหล่งที่มาของข้อมูล

























อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

เขียนโดย ยุ้ย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เนตคืออะไร
อินเทอร์เนต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ รวมกันเป็นระบบเครือข่ายใหญ่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันทั่วโลก

อินเทอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร
รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANET ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะ

อินเทอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?
เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น
1.สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
2.สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
3.สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี
4.สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ ต้องไปยังห้องสมุดนั้น
5.สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
6.สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น




บริการต่าง ๆ ของอินเทอร์เนต
1. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเทอร์เนต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ในการรับ-ส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์นั้นมี หลายโปรแกรมด้วยกันแล้วแต่จะเลือก ใช้ตาม ความ ชอบหรือความถนัด โปรแกรมที่พูดถึงก็เช่น Eudora, Pine, Netscape Mail, Micorsoft Explorer และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น

2. World Wide Web (WWW)
เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นที่ฮิตสุดบนอินเทอร์เนต ข้อมูลนี้จะอยู่ในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่านเข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียงแต่ท่านเลือกกดที่คำที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก)
Uniform Resource Locator (URL) คือที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูลเราต้องทราบที่อยู่ของ homepage หรือ URL ก่อน ตัวอย่างที่อยู่ของ homepage ของกลุ่มเซนต์จอห์นคือ
http://www.stjohn.ac.th/ ส่วนโปรแกรมที่ช่วยให้เข้าสู่ข้อมูลที่อยู่บน WWW ได้ คือ Netscape และ Microsoft Explorer เป็นต้น
3. FTP (File Transfer Protocol)
คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง ในเครือข่ายอินเทอร์เนตถ้าเครื่องนั้นๆต่อเข้ากับระบบที่เป็นอินเทอร์เนตก็สามารถโอนย้ายข้อมูลกันได้เครื่อง คอมพิวเตอร์บางที่นั้นจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็น Freeware หรือ Shareware เและเปิดให้เข้าไปโอนย้านมาได้ฟรี โปรแกรมที่จะช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ก็เช่น Netscape, Telnet WSFTP เป็นต้น



4.Telnet
เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet

5. Usenet / News groups
เป็นบริการที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ข่าวสารข้อมูลของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาข้อสงสัยข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้จะมีสารพัดกลุ่มตามความสนใจ โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ คือ โปรแกรม Netscape News ที่อยู่ใน โปรแกรม Netscape Navigator Gold 3.0 เมือเปิดโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นรายชื่อของกลุ่มสนทนาจะปรากฎขึ้นให้ท่านเลือกอ่านตามใจชอบ

หากจะใช้ Internet ควรต้องมีอะไรบ้าง ?
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เนต การต่อเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตนั้น ลักษณะการต่อจะขึ้นอยู่กับความเร็วของสายที่ต่อเชื่อม
2. หากท่านต้องการใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่บ้าน โดยการต่อคอมพิวเตอร์ที่บ้านให้เข้าสู่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ท่านต้องมี Modem (โมเด็ม) หรือตัวแปลงสัญญาณ โมเด็มจะเป็นตัวช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านรับข้อมูลจากอินเทอร์เนต ได้ความเร็วของ Modem ควรจะเป็นอย่างต่ำ 14.1 kbps หรือมากกว่านั้น (kilobyte per second = อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล)
3. หากท่านใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่ทำงาน มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน สำหรับหน่วยงานใหญ่ ๆ มักจะมีการต่อเชื่อมเข้ากับระบบอินเทอร์เนตด้วยการใช้สายเช่า ซึ่งมีความเร็วในการส่งสัญญาณสูงแทนโมเด็ม และจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนต ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเลือกใช้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น หารกจะใช้ E-Mail (Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปแกรมที่จะใช้ได้ เช่น Pine , Eudora , Netscape Mail, Microsoft Explorer แต่ถ้าจะใช้ WWW ก็ต้องใช้โปรแกรม Netscape เป็นต้น
4. Internet Account ท่านต้องเปิดบัญชีอินเทอร์เนต เหมือนกับต้องจดทะเบียนมีชื่อและที่อยู่บนอินเทอร์เนต เพื่อที่ว่าเวลาติดต่อสื่อสารกับใครบนอินเทอร์เนต จะได้มีข้อมูลส่งกลับมาหาท่านได้ถูกที่

มารยาทในการใช้อินเตอร์เนต (Netiguette)
1.การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม

2.ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
3.ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้


แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.thaiwbi.com/course/internet/1_1.htm
http://blog.spu.ac.th/home/blog_data/846/4846/images/Img019.jpg
http://www.thaiwbi.com/course/internet/1_3.htmhttp://www.thaiwbi.com/course/internet/1_2.htm
http://www.thaiwbi.com/course/internet/1_4.htm

Internet

เขียนโดย ยุ้ย

อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

อินเตอร์เน็ต(Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Network Computer System) ที่ใหญ่ที่สุด เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายในโลกเข้าด้วยกัน เช่นเครือข่ายแลน เครือข่ายของเครื่องมินิหรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์แต่ละเครือข่ายจะต้องมีเครื่องแม่ข่าย(Server) ที่เรียกว่า โฮสต์(Host) คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารกับผู้ใช้บริการ
ความเป็นมา
อินเตอร์เน็ตเกิดจากความร่วมมือของกระทรวงกลาโหมอเมริกัน(DOD หรือ US Department Of Defense) และองค์การป้องกันประเทศอเมริกา(ARPA หรือ Armed-Forces Research Project Agency) ก่อตั้งโครงการ ARPANET เพื่อทดลองระบบเครือข่ายของหน่วยงานทางทหาร เป็นการกระจายการเก็บข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เพื่อป้องกันการทำลายข้อมูลจากข้าศึกมีการเชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์จากที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ให้สามารถทำงานแทนกันได้
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
เริ่มเชื่อมต่อครั้งแรกในปี 2532 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุดประสงค์เพื่อใช้รับส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลล์กับประเทศออสเตรเลียศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(NECTEC) จัดทำโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้นเส้นทางการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตในไทยเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่อเมริกามี 3 เส้นทางNECTEC, จุฬาลงกรณ์ และ KSC


วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่าน เกตเวย์(Gateway) หรือ IP Routerสายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่าน Internet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง
โปรโตคอล(Protocol) คืออะไร
เป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบตัวอย่างของโปรโตคอลTCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)FTP(File Transfer Protocol)HTTP(Hyptertext Trasfer Protocol)
ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ UNIXApache , NCSA httpd ฯลฯตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS NTIIS(Internet Information Server)ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS 95, 98,XPPersonal Web ServerOmniHTTPD ฯลฯ
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์
เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Tags ที่กำหนดในเว็บเพจ HTML ให้กลายเป็นตัวอักษร/ภาพ/เสียงNCSA MosaicNetscape NavigatorMicrosoft Internet ExplorerOpera
-โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic
สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์ ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไปสามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP, Usenet News ไว้ด้วยเป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน
-โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator
Marc Andressen กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Mosaic Communication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรมยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุนภาษา Java และ Javascript
- โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorer
ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯเกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
รับส่งจดหมาย (email) - ใช้โปรแกรมยูโดร่า, เอ้าท์ลุค เป็นต้นค้นหาข้อมูลและภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว - ใช้โปรแกรมเนทสเคป, เอ็กซ์โพรเลอร์ ดาวน์โหลดโปรแกรม ไดร์ซเวอร์ และอื่น ๆ ขายสินค้า โฆษณาหรือสั่งซื้อสินค้า เล่มเกมส์ผ่านอินเตอร์เน็ต พูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ตแทนโทรศัพท์ - ใช้โปรแกรมเน็ตทูโฟน รับส่งแฟ็กซ์ ดูหนัง ฟังเพลง และอื่น ๆ อีกมากมาย










World Wide Web(WWW) คืออะไร
เกิดขึ้นในปี 1989 โดย Tim Berners-Lee แห่งห้องปฏิบัติการ CERNเป็นบริการหนึ่งที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเตอร์ง่ายขึ้น ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไปเป็นการแสดงเอกสารที่อยู่ในรูปของสื่อผสม(Multimedia) ที่เรียกว่าเว็บเพจ(Web Page) ที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ และไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext)
ส่วนประกอบของ WWW
- แหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์(Web Site)
-โปรแกรมเว็บบราวเซอร์(Web Browser)
- เว็บไซต์หรือเว็บเซิรฟ์เวอร์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บ เว็บเพจ เว็บบราวเซอร์ หรือเว็บไคลเอ็นต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้าสู่ WWW เพื่อเปิดดูเว็บเพจในเว็บไซต์
โฮมเพจ(Home Page) คืออะไร
- เป็นหน้าแรกของเว็บเพจทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการจะพบเมื่อมีการเข้าไปยังเว็บไซต์ใดๆ
- เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้ผู้บริการทราบว่าในเว็บไซต์นั้นมีบริการใดบ้าง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรของตน
- ภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ เชื่อมโยง ต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมาก
IP Address, DNS, E-mail Address และ URL
IP Address คืออะไร
เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 202.44.194.6 ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง 28-1 = 255 เท่านั้นโฮสต์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องขอหมายเลข IP นี้จากหน่วยงาน Internet Network Information Center(InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated(NSI) สหรัฐอเมริกาผู้ใช้ธรรมดาทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต(Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อรับหมายเลข IP จาก ISP ได้
DNS(Domain Name System) คืออะไร
เป็นเทคนิคการเปลี่ยนหมายเลข IP ที่เป็นตัวเลขให้เป็นตัวอักษรแทน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำตัวอย่างของ DNS เช่น DNS IP Addresskku1.kku.ac.th -------> 202.12.97.1 DNS(Domain Name System)
รูปแบบของ DNS มีดังต่อไปนี้
ชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์.ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น[.ชื่อโดเมนย่อย.].ชื่อโดเมนระดับบนชื่อโดเมนระดับบน จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา เช่นcom commercial กลุ่มองค์กรเอกชนedu educational กลุ่มสถาบันการศึกษาgov governmental กลุ่มองค์กรของรัฐทั่วไปmil military กลุ่มองค์กรทหารnet network services กลุ่มองค์กรบริหารเครือข่ายorg non-commercial organization กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น biz.zd.com ชื่อโดเมนระดับบนที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่างๆ เช่น au ออสเตรเลีย jp ญี่ปุ่นca แคนาดา th ไทยfr ฝรั่งเศส uk อังกฤษจะมีสับโดเมน(Subdomain) ที่แสดงถึงประเภทขององค์กรในประเทศนั้นๆ เช่น ac สถาบันการศึกษา go องค์กรรัฐบาลco องค์กรเอกชน or องค์กรไม่แสวงหากำไรเช่น kku1.kku.ac.th
E-mail Address คืออะไร
เป็นที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือที่อยู่อีเมลล์ เพื่อให้ผู้ใช้งานในอินเตอร์เน็ตสามารถรับส่งจดหมายผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้รูปแบบมีดังต่อไปนี้ชื่อผู้ใช้@ชื่อโฮสต์.ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น[.ชื่อโดเมนย่อย.].ชื่อโดเมนระดับบนตัวอย่างเช่น potjaluck@yahoo.com
ตัวอย่างโปรแกรม E-mail ที่มีบริการอยู่ในอินเตอร์เน็ตMicrosoft OutlookNetscape Mail หรือ Netscape MessengerEudora YahooHot mail ฯลฯ
URL (Uniform Resource Locator) คืออะไร
เป็นที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการจะเข้าไปเรียกดูข้อมูล ชื่อโดเมนยังสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของ URL ได้รูปแบบมีดังต่อไปนี้โปรโตคอล://ชื่อโดเมน/ชื่อไดเรกทอรี่ที่เก็บไฟล์ในโฮสต์/ชื่อไฟล์ในโฮสต์
ตัวอย่างของโปรโตคอลที่เรียกใช้บริการได้ เช่น http:// หรือ ftp:// เป็นต้น
HTML(HyperText Markup Language) คืออะไร
เว็บเพจจะถูกสร้างขึ้นมาจากภาษา HTML HTML เป็นภาษาสำหรับทำเครื่องหมายอันประกอบด้วยคำสั่งที่เรียกว่า “Tags” ที่เป็นตัวกำหนดว่าเว็บเพจจะมีข้อ
ความอะไร มีการแสดงรูปภาพ เสียง และวีดีโอที่ตำแหน่งใด หรือมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นอีกหรือไม่ เป็นต้น



แหล่งที่มาของข้อมูล