แนะนำตัว

เขียนโดย ยุ้ย





ปฏิทิน

เขียนโดย ยุ้ย

E-Commerce

เขียนโดย ยุ้ย


เริ่มต้นทำเว็บไซต์ E-Commerce

การเขียนแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทางที่จะช่วยชี้แนะขั้นตอนต่าง ๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง


แผนธุรกิจที่ดีประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย
2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง
3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทำ
4. นโยบายการตลาด
5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องใช้
6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน จำนวนเงินลงทุนที่ต้องการ และกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้มาหรือใช้ไป
แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้
1. การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง
2. ธุรกิจนี้น่าลงทุนหรือไม่
3. ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน
4. ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด
5. สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงใด้
6. สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
7. วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่
8. หน้าที่ต่าง ๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดีและเหมาะสมเพียงใด จำนวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่
การจัดทำเว็บไซต์
การออกแบบเว็บที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่าเราต้องการขายอะไร ไม่จำเป็นต้องใช้กราฟฟิกที่เริดหรูเพียงแต่เน้นการเสนอคุณสมบัติของสินค้าของเรานั้นให้ตรงตามลักษณะของสินค้านั้น ๆ เช่น เรายังขายอัญมณีมุกน้ำเค็มสินค้าเดิม สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือ รูปแบบแต่ละแบบที่เห็นและความเด่นชัดของสินค้า รูปภาพที่แสดงให้ลูกค้าดูนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่สำคัญในการโหลดข้อมูลไม่ควรจะช้ามากจนเกินไปเพราะจำทำให้ไม่ดึงดูดความสนใจได้ ควรออกแบบเว็บไซต์ให้เป็นกันเองกับผู้เยี่ยมชมก็ควรมีสิ่งที่เกี่ยวกับสังคมอินเทอร์เน็ตบ้างเพื่อไม่เป็นการมุ่งแต่การขายอย่างเดียวการสร้าง Catalog ในการออกแบบสินค้าเพื่อให้ลูกค้า ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและ มีเงื่อนไขที่หลายรูปแบบ

การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์

1. การจัดทำนโยบายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) นโยบายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือการทำธุรกรรมต่างๆของบุคคลเท่านั้น ไม่ได้เป็นนโยบายที่มุ่งคุ้มครองความเป็นส่วนตัวทุกอย่างในชีวิตประจำวัน

2. เครื่องหมายแสดงความน่าเชื่อถือ (Trustmark) Trustmark คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่แสดงไว้เพื่อประกาศให้ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ทราบว่าเว็บไซต์ของผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติหรือคุณลักษณะต่างๆตามมาตรฐานที่มีการกำหนดโดยองค์กรนั้นๆแล้ว


ระบบการชำระเงิน (Payment System)



ขั้นตอนที่สำคัญสำหรับทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อสินค้า ในเรื่องการชำระเงินควรมีวิธีการให้ลูกค้าสามารถใช้บริการให้มากที่สุดที่สะดวกกับทั้งทางผู้ค้าและลูกค้า เพราะในบางครั้งลูกค้าต้องการสินค้าของเราแล้ว แต่ไม่สะดวกในเรื่องการชำระเงินก็ไม่ซื้อของจากเราก็ได้ ในการพิจารณาเรื่องวิธีการชำระเงินนั้นให้พิจารณาถึงกลุ่มลูกค้าว่าเป็นใคร เช่นเป็นลูกค้าภายในประเทศ กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน หรือกลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัด วิธีที่สะดวกจะมีให้เลือกหลายวิธีทั้งธนาณัติ การโอนเงินทางธนาคาร โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต
ระบบการจัดส่งสินค้า
สินค้าจะมี 2 รูปแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้(Tangible Goods) และสินค้าที่จับต้องไม่ได้(Intangible Goods) ดังนั้นการจัดส่งจึงมี 2 รูปแบบคือ สินค้าที่จับต้องได้ เช่นการส่งพัสดุตามปกติ ส่ง EMS ส่งผ่านผู้ให้บริการรับส่งสินค้า(Courier) เช่นเดียวกันต้องมีให้เลือกทั้งแบบส่งปกติ ส่งด่วน ส่งด่วนพิเศษ ตามความต้องการของลูกค้า ส่วนสินค้าที่จับต้องไม่ได้นั้นการจัดส่งจะทำการส่งผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เลย เช่นดาวน์โหลดเพลง ซื้อข้อมูล การเป็นสมาชิกดูข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆ เป็นต้น

E-Commerce

เขียนโดย ยุ้ย

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

คือการทำ ”การค้า”ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง โดยคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน อาทิ โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มี ความซับซ้อนกว่านี้ แต่ว่าในปัจจุบันสื่อที่เป็นที่ นิยมและมีความแพร่หลายในการใช้งานคืออินเทอร์เน็ตและ มีการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการทำการค้ามาก จนทำให้เมื่อพูดถึงเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คนส่วนใหญ่ จะเข้าใจไปว่าคือการทำการค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั่นเอง นอกจากนั้นปัจจุบันอาจได้ยินอีกหลายๆ คำ อาทิ e-Business, e-Procurement, e-Readiness, e-Government ซึ่งล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ในการที่นำเอา เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน

ส่วนคำว่าe-Business คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ” ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

- BI=Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน

- EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
- CRM=Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
- SCM=Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
- ERP=Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สรุปจากที่ผ่านมานั้นจะพบว่าจะมีข้อที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตอยู่ 3 ประเด็นคือ


1.ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ
2.ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก (หมายความว่าต้องสร้างเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเป็นภาษาสากลหรือภาษาที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราใช้มากๆ เช่นภาษาจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น)
3.ไม่มีข้อจำกัด้านเวลา สามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ผ่านระบบอัตโนมัติ

ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค

- หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา คุณภาพสินค้าและข้อมูลอื่นๆเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ
- อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลได้ง่าย

- มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น

- เพียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดลงในเครื่องมือค้นหาก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมาย

- ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย

- สินค้าบางอย่างสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง คงไม่ใช่กับทุกสินค้าหรือทุกผู้ผลิตที่มีความต้องการมาทำการขายเอง อาจจะได้กับสินค้าบางชนิด

ประโยชน์สำหรับผู้ผลิตและผู้ขาย
- ลดความผิดพลาดในการสื่อสาร จากเดิมที่ในการค้าต้องส่งแฟกซ์ หรือบางทีบอกจดทางโทรศัพท์ รับใบคำสั่งซื้อแล้วมาคีย์เข้าระบบ ถ้าสามารถทำการติดต่อกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลกันได้เลยจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้
- ลดเวลาในการผลิต นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการวัตถุดิบ การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบ
- เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานส่วนหลัง
- เปิดตลาดใหม่ หาคู่ค้า ซัพพลายเออร์รายใหม่
- เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง
- เพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้น
- สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า การให้บริการหลังการขายให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ หรือการแก้ไขเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว

แหล่งที่มาของข้อมูล


http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/types.html

http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/benefit.html

E-Commerce

เขียนโดย ยุ้ย

e-commerce
ความหมาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์


รูปแบบการทำธุรกิจ

1.ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ อาทิ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น

2.ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค อาทิ การขายสินค้าอุปโภคบริโภค

3.ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B2G) หมายถึงธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศ เพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล

4.ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer : C2C) หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต

ข้อดีของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. สามารถเข้าหาลูกค้าได้โดยตรง เสียค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากต้องผ่านคนกลาง

2. สามารถขายสินค้าในราคาที่ต่ำลง เนื่องจากต้นทุนต่ำลง

3. ทำให้สามารถขยายตลาดได้กว้างและเร็วขึ้น

4. เหมาะสำหรับธุรกิจที่เป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าใหม่หรือยังไม่เป็นที่รู้จักทั่วไป

วิธีการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. การฝากสินค้าขายของบน Shopping Mall (เป็นศูนย์รวมการขายสินค้าขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ตคล้ายกับศูนย์การค้า) เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุนน้อย และสินค้าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องประชาสัมพันธ์หรือ Update ข้อมูลต่างๆ โดยวิธีการลงโฆษณา ติดประกาศขาย หรือการประมูลสินค้า ทั้งในรูปแบบของการขายส่งและขายปลีก
2. สร้าง web Site ของตัวเอง เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเงินลงทุน และมีเครื่องหมายการค้าของตัวเอง ถึงแม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้อง Update ข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แต่สามารถจัดหน้าร้าน และให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้าเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้ซื้อได้มากกว่า นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการคิดค่าบริการในการลงโฆษณาสินค้า



แหล่งที่มาของข้อมูล

http://blog.spu.ac.th/FutureCareer/2007/11/29/entry-12

วันครู 16 มกราคม

เขียนโดย ยุ้ย

วันครู 16 มกราคม วันครูแห่งชาติ





ความหมาย ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ประวัติความเป็นมา วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปีจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลายข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลายข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น"วันครู"โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือหนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา






ปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ดังนี้


1.กิจกรรมทางศาสนา

2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัดสำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลางจะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้

รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประธานอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 1,000 รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์


แหล่งที่มาของข้อมูล







สวัสดีปีใหม่ 2553

เขียนโดย ยุ้ย

งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา (Pattaya Countdown 2010)
วันที่ 25 – 31 ธันวาคม 2552
ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว(แหลมบาลีฮาย) พัทยาใต้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายนการกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆวันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา (Pattaya Countdown 2010)
วันจัดงาน : วันที่ 25 – 31 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว(แหลมบาลีฮาย) พัทยาใต้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี

กิจกรรม

- กิจกรรมวันคริสต์มาส เปิดไฟประดับถนน
- กิจกรรม Pattaya Countdown 20010
- การออกร้านจากร้านค้าชั้นนำ

- การเล่นเกมส์รับของรางวัล

- การแสดงศิลปะวัฒนธรรมไทย

- การประกวด ร้อง/เต้น

- การเปิดแผ่นของดีเจทั่วฟ้าเมืองไทย-

- คอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำ และชมการจุดพลุสุดอลังการ



count down 2010



แหล่งที่มาของข้อมูล



อาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เขียนโดย ยุ้ย

อาชีพภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิภาคนี้มีลักษณะโดดเด่นกว่าส่วนอื่นของประเทศประกอบด้วยจังหวัด 19 จังหวัดคือ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี เลย ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองบัวลำภู และ อำนาจเจริญ นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่และประชากรมากที่สุด นอกจากนั้นยังเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาในด้านต่าง ๆ มากที่สุด เช่น ปัญหาความแห้งแล้ง ความยากจน ประชากรอพยพย้ายถิ่น ประชากรในภาคนี้พูดภาษาไทยสำเนียงอีสาน แตกต่างไปจากสำเนียงท้องถิ่นในภาคเหนือแต่ประชากรส่วนใหญ่สามารถพูด สำเนียงไทยภาคกลางได้ ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ของตนคือหญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอ ด้วยฝ้ายมีเชิงคลุมเลยเข่าไปเล็กน้อย สวมเสื้อแขนสั้น ผู้สูงอายุมักตัดผมสั้นไว้จอน ส่วนผู้ชายไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนนัก แต่มักนุ่งกางเกงมีขาครึ่งน่องหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายดังกล่าวจะพบน้อยลง ในปัจจุบันประชากร วัยหนุ่มสาวจะแต่งกายตามสมัยนิยมอย่างที่พบเห็นในที่อื่น ๆ ของประเทศ
อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย ภาคนี้พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ ถึงฤดูฝน



ประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน เว้นแต่เก็บน้ำฝนไว้ดื่มกินเท่านั้น การขาดแคลนน้ำในภาคนี้ทำให้ไม่ค่อยมีการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ทำให้ผลผลิตมีน้อย เป็นเหตุให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีความยากจนเป็นส่วนมาก ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทำให้เกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการอีสานเขียว ความมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อหวังจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยการหาและสร้างแหล่งน้ำ ปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพ ปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาคือพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวต้องการน้ำมาก แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงวัว แต่การเลี้ยงวัวเลี้ยงควายโดยการปลูกหญ้าให้เป็นอาหารสัตว์นั้นยังทำกันไม่ค่อยแพร่หลายในภาคนี้ การเลี้ยงสัตว์จึงไม่ค่อยได้ผล สำหรับงานฝีมือ เช่น การทอผ้าไหมและการจักสานในภาคนี้ทำกันได้ดีมีฝีมือประณีต แต่การทำในลักษณะที่เป็นกิจการใหญ่โตทำครั้งละมาก ๆ เพื่อการค้ายังไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ประชาชน
เนื่องจากความขัดสนในพื้นที่ผู้คนในภาคนี้จึงได้ดิ้นรนไปหางานทำกันในภาคอื่น ส่วนมากไปในลักษณะการบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เรียกว่า " หานาดี " ในภายหลังการหานาดีก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่จะให้บุกเบิกใหม่ ส่วนใหญ่จึงไปทำงานรับจ้างในที่ต่าง ๆ และไปกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และในประเทศเขตทะเลทรายตะวันออกกลาง ปัญหาของภูมิภาคนี้คือการหาหนทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาค สร้างอาชีพใหม่ ๆ ให้เข้ากับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์และตั้งโรงงานที่รองรับผลิตผล เหล่านี้จะสามารถแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้มาก


แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no15-17-47/traditional/sec03p01.html

ภาษาอีสาน

เขียนโดย ยุ้ย

ภาษาประจำภาคอีสาน
ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบัน เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี ถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้ เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน
ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้


คำกริยา
-เมียบ้าน กลับบ้าน
- อีหลีบ่ จริงหรือ
- ศูนย์ โกรธ
- อีหลี จริง
-ไปบ่ ไปไหม
-แม่นบ่ ใช่หรือ
- บ่ไป ไม่ไป
- สวย สาย
-ไปนำ ไปตามตัว
-มิด เงียบ, จม
- เบิ่ง ดู
- จอบ แอบดู
- ไปนำแน่ ไปด้วย
- ไปไส ไปไหน
- เซา หยุด
- ไปโลด ไปเลย
- แซบ อร่อย
- หั่นเด้ นั่นงัย
- ยาง เดิน
- เว่า พูด

คำนาม
- พืช-ผลไม้
- บักหุ่ง มะละกอ
- บักมี่ ขนุน
- บักหุ่งเหิม มะละกอใกล้สุก
- มันเภา มันแกว
- บักเขียบ น้อยหน่า
- บักทัน พุทธา
- ไน เมล็ด/เม็ด
- บักอึอ ฟักทอง
- บักต้อง กระท้อน
- บักสีดา ฝรั่ง
- คันคาก คางคก
- ปลาแดก ปลาร้า
- หมาว้อ หมาบ้า
- เกิบ รองเท้า
- บ่วง ช้อน
- จอก แก้วน้ำ
- บักจก จอบ

คำสรรพนาม

- เซียง คำนำหน้าคนที่เคยบวชเณร ทิด คำนำหน้าคนที่เคยบวชพระ
- เอื้อย พี่สาว อ้าย พี่ชาย
- ข่อย ข้าพเจ้า เพิน ท่าน/เขา
- ซาว 20 แข่ว ฟัน
- ดัง จมูก สบ ริมฝีปาก


แหล่งที่มาของข้อมูล
http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/language1.htm
http://entertain.tidtam.com/data/12/0338-1.html#top

การแสดงภาคอีสาน

เขียนโดย ยุ้ย

การแสดงประจำภาคอีสาน

ฟ้อนหมากกั๊บแก้บ-ลำเพลิน
หมากกั๊บแก้บ(กรับ) เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะของภาคอีสาน มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ1. กั๊บแก้บไม้สั้น เป็นไม้ผิวเรียบยาวประมาณ 4-6 นิ้ว2. กั๊บแก้บไม้ยาว เป็นไม้ผิวเรียบมีการหยักร่องฟันปลา เพื่อขูดกันให้เกิดเสียง

การเล่นหมากกั๊บแก้บ เป็นการเล่นที่ไม่มีรูปแบบตายตัว สุดแท้แต่ใครมีความสามารถในการแสดงออกถึงลีลาท่าทางที่โลดโผนให้เป็นที่ประทับใจของหญิงสาวได้มากน้อยเพียงใด หากเล่นกันเป็นคู่มีฝ่ายรุกฝ่ายรับ แล้วเปลี่ยนลีลาสลับกันก็ขึ้นอยู่กับโอกาสและปฏิภาณของผู้เล่น
ลำเพลิน เป็นการขับลำอีกประเภทหนึ่งของชาวอีสาน สันนิษฐานว่าการขับลำเพลินมาจากการลำทำนองตีกลองน้ำเพราะจังหวะลีลาท่วงทำนองคล้ายคลึงกันมากหมอลำเพลิน ถือกำเนิดขึ้นมาในสมัยใดไม่สามารถระบุหลักฐานได้แน่ชัด แต่ก็เป็นทำนองกลอนลำที่นิยมกันอย่างกว้างขวางทั้งในภาคอีสานและประเทศลาว ตั้งแต่ พ.ศ.2505 จนถึงปัจจุบัน บางคนก็เรียกทำนองหมอลำชนิดนี้ว่าหมอลำแก้วหน้าม้า อันเนื่องมาจาก แต่เริ่มเดิมทีนั้นหมอลำเพลินนิยมเล่นเรื่อง “แก้วหน้าม้า” เพียงอย่างเดียว ในสมัยต่อมาก็มีการเล่นเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” ซึ่งชาวอีสานจะนิยมเรียกว่า “ขุนแผน-ลาวทอง” เพราะนิยมเล่นตอนนางลาวทองเขียนสาสน์ ปัจจุบัน ลำเพลินพัฒนาตนเองไปอย่างรวดเร็ว จึงนิยมนำเอาวรรณกรรมและนิทานพื้นบ้านมาใช้เล่นกันอย่างกว้างขวาง
จุดเด่นของการฟ้อนหมากกั๊บแก้บ-ลำเพลิน อยู่ที่จังหวะลีลาท่วงทำนองดนตรี ประกอบกับท่าฟ้อนของชาวอีสาน เช่น ท่าถวยแถน ท่าหมาเยี่ยว ท่าลอยปลากระเดิด ท่าเสือตะครุบ ท่าดาวน้อย ท่าลำเพลินท่าบัวหุบ-บัวบาน ท่าส่าย ท่าเนิ้ง ฯลฯ ดนตรีบรรเลงลายแมงตับเต่า และทำนองหมอลำอัศจรรย์ลายลำเพลิน

ฟ้อนสาละวัน
ลำสาละวัน
เป็นของชนชาติลาวอีกประเภทหนึ่ง การลำสาละวันที่เก่าแก่ที่กำเนิดมาจากการทรงผีไท้ผีแถน ตามความเชื่อดั้งเดิมแล้วกลายมา เป็นมหรสพของชุมชนแล้วได้ประยุกต์เพิ่มกลอนลำให้เกิดความสนุกสนาน ประกอบท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยอิสระตามธรรมชาติ แรกเริ่มเป็นการเล่นโดยทั่วไปในหมู่ชาวบ้านแล้วแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย ได้รับความนิยมมายาวนาน ด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ จังหวะสม่ำเสมอ
การแสดงชุด “ฟ้อนสาละวัน” คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด เล็งเห็นคุณค่าความไพเราะของทำนองและบทร้องตลอดจนท่าฟ้อนรำที่สื่อความหมายตามแบบศิลปะพื้นบ้านที่บริสุทธิ์ รวมไปถึงความสวยงามของลวดลายที่ปรากฏบนผ้าทอของชาวสาละวัน โดยพยายามอนุรักษ์การฟ้อนแบบดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุดโดยไปศึกษาการขับลำสาละวันและท่าฟ้อนสาละวัน ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วนำกลับเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยอีกครั้ง จึงได้นำฟ้อนประกอบการลำสาละวันจัดระเบียบแผนในการแสดงใหม่โดยดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบในการแสดงวงโปงลางแต่ยังคงรูปแบบไว้ดั้งเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วน
ฟ้อนโหวด
ชุดการแสดงที่จัดทำขึ้นใหม่โดยภาควิชานาฏศิลป์ไทย โดยวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ด้วยการนำลักษณะของช่างประดิษฐ์โหวดมาปรับปรุงเป็นท่าฟ้อทีมีความอ่อนช้อยสวยงาม สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกรรมวิธีการประดิษฐ์โหวดได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการฝ่ายชายเข้าป่าไปหาตัดไม้กู่แคน นำมาตากแห้ง เลือกตัด ตกแต่ง ติดขี้สูดประกอบเข้ากับแกนโหวด เทียบเสียง แกว่งโหวดทดสอบ แล้วฝ่ายหญิงออก มาแสดงความร่าเริง สนุกสนาน ปิดท้ายด้วยการที่ฝ่ายชายออกมาเกี้ยวพาราสี หยอกล้อกัน
ฟ้อนโหวด ประกอบไปด้วยท่าจากท่าฟ้อนแม่บทอีสานเช่น ท่านาคเกล้าเกี้ยว ท่าอุ่นมโนราห์

ท่าบัวคว่ำบัวหงาย ฯลฯดนตรีบรรเลงด้วยวงโปงลาง ลายเค้าอ่านคอน ลายอ่านหนังสือน้อย ลายกลอนเขิน ลายพรานเดินดง และลายเมยกินโป่ง

เซิ้งบั้งไฟ
เซิ้งบั้งไฟ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จากคตินิยมและความเชื่อเรื่องตำนานพญาคันคาก (คางคก) ซึ่งเป็นทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมจารึก อีกเรื่องหนึ่งคือ ตำนาน “ท้าวผาแดง – นางไอ่คำ” ซึ่งปราชญ์ชาวอีสานได้แต่งวรรณกรรมจากสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวขอม เป็นเรื่องราวในทางสงครามระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวกับกลุ่มชาติพันธุ์เขมร


ส่วนการเซิ้งบั้งไฟ ถือว่าเป็นประเพณีที่ชุมชน ชาวอีสานสืบทอดกันมาพร้อมกับประเพณีการจุดบั้งไฟ คือก่อนที่จะทำบั้งไฟเพื่อจุดถวายพญาแถนบนสวรรค์ ชาวบ้านจะรวมตัวกันออกเซิ้ง(คือ การร้องหรือจ่ายกาพย์ประกอบการฟ้อน) ไปรอบๆหมู่บ้านหรือชุมชนใกล้เคียงเพื่อบอกบุญขอรับไทยทาน เพื่อซื้อ ขี้เกีย (ดินประสิว) มาทำเป็น หมื่อ (ดินปืน) เพื่อบรรจุทำเป็นบั้งไฟ และจุดในพิธีขอฝนต่อไป
การเซิ้งบั้งไฟนั้นอาจจะเป็นผู้หญิงล้วน ชายล้วน หรือมีการสลับชายหญิงก็ได้ ท่าฟ้อนในการแห่บั้งไฟนั้นมีหลายท่า ยกตัวอย่างเช่น ท่าฟ้อนของคุ้มบ้านใต้สามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มีอยู่ด้วยกัน 6 ท่า คือ ท่าไหว้ครู ท่านาคพ่นน้ำ ท่าม้วนเชือก ท่าแงงคีง(ท่าชมโฉมตนเอง) ท่าส่อนฮวก(ช้อนลูกอ๊อด) และท่ายูงรำแพนท่าฟ้อนของคุ้มบ้านท่าศรีธรรม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร มี 13 ท่า คือ ท่าไหว้ครู ท่าเกี่ยวข้าว ท่าทวยเทพ ท่าแหวกม่านเข้าหอ ท่าเอิ้นบ่าว-อีแหลวเสิ่น ท่าประแป้ง ท่าเสือขึ้นภู ท่าปอบผีฟ้า-กาตบปีก ท่าบัวหุบ-บัวบาน ท่าสามก้าว ท่างามเดือน และท่าแผลงศร
ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ

เป็นการฟ้อนที่ได้ตัดตอนเนื้อหามาจากวรรณกรรมพื้นเมืองอีสาน-ล้านช้าง เรื่อง “ท้าวสีทน-มโนราห์” หรือในท้องที่ภาคกลางของไทยรู้จักในเรื่อง “พระสุธน – มโนราห์” อันเป็นเรื่องที่มีเค้ามาจากชาดกทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายอย่างมากทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้เลือกเอาตอนหนึ่งมาแสดงคือ ตอนที่นางมโนราห์และพี่ทั้งหกตน ลงจากเขาไกรลาสมาเล่นน้ำในสระอโนดาต เมื่อพรานบุญผ่านมาพบเข้าเห็นเหล่านางกินรีเล่นน้ำอยู่ จึงใช้บ่วงนาคบาทจับตัวนางมโนราห์ไป พี่ๆของนางมโนราห์ไม่สามารถจะช่วยเหลืออะไรได้ จึงต้องบินกลับเขาไกรลาสไปฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จาก วิทยาลัย

นาฏศิลปร้อยเอ็ด โดยมี อ.ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้จัดทำนองลายดนตรี อ.ทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ เป็นผู้ปรับปรุงตกแต่งความกลมกลืนของท่าฟ้อนและทำนองลายเพลง อ.ฉวีวรรณ ดำเนิน(พันธุ) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนและออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมกับ อ.จีรพล เพชรสมท่าฟ้อนที่ใช้ในการแสดงชุด ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ ได้แก่ ท่ายูงรำแพน ท่าสาวประแป้ง ท่าอุ่นมโนราห์ ท่าอาบน้ำ ท่าบัวหุบบัวบาน ท่าไซร้ปีกไซร้หาง ท่าตีกลองน้ำ ท่าบินโฉบ เป็นต้นดนตรี บรรเลงด้วยวงโปงลาง ลายลำเพลินแก้วหน้าม้า


แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.thaidances.com/webboard/question.asp?QID=2120



อาหารอีสาน

เขียนโดย ยุ้ย

อาหารประจำภาคอีสาน

หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา


ลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสาน

-ลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่

-ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด

-ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น
แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล
-อ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผัก
-อ๋อ ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุก
-หมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ




-อู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบ

-หม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆ
-หม่ำขึ้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียว
-แจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก
-ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย ผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย





แหล่งที่มาของข้อมูล

http://student.nu.ac.th/isannu/food/foodindex.htm

วัฒนธรรมอีสาน ชนเผ่าพื้นเมือง

เขียนโดย ยุ้ย


ชนพื้นเมืองดั้งเดิม
หมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่า


ชนเผ่าไทยญ้อ (ญ้อ) ที่ตั้ง วัดคามวาสี บ้านโพน หมู่ 8 ตำบลโนนตาล อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ประวัติความเป็นมาของชาวไทยญ้อ ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาวหรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชยบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปแล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่งต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. 2373 คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
วิถีชีวิตของชาวไทยญ้อ ลักษณะนิสัยใจคอของไทยญ้อส่วนมากที่สุดคือ ซื่อสัตย์ สุจริต รักสงบ มีความสามัคคีมั่น ไม่ว่าจะมีอะไรเช่นการทำบุญ การปลูกบ้าน ทำนาจะว่านหรือวานกัน (นาว่านคือ การลงแขก ทำนา ทำงาน)
การแต่งกายชุดรำไทยญ้อ
-ชาย สวมเสื้อคอพวงมาลัยสีเขียวสด ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพับครึ่งกลาง พาดไหล่ ซ้ายและขวา ปล่อยชายสองข้างไปด้านหลังให้ชายเท่ากัน นุ่งผ้าโจงกระเบนสีน้ำเงินเข้ม ใช้สไบไหมสีแดงคาดเอว ปล่อยชายข้างซ้ายด้านหน้า เครื่องประดับสร้อยเงิน ห้อยพระ ใบหูทัดดอก ดาวเรืองด้านซ้าย
-หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีชมพู (สีบานเย็น) คอกลมขลิบดำ หรือน้ำเงินเข้ม นุ่งผ้าถุงไหมสีน้ำเงินมีเชิง (ตีนจก) เข็มขัดลายชิดคาดเอว ใช้สไบไหมสีน้ำเงินพาดไหล่ด้านซ้ายแบบเฉียงปล่อยชายยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้ชายเท่ากัน เครื่องประดับสร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยข้อมือเครื่องเงิน ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้สด หรือดอกไม้ประดิษฐ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำปลาร้า ส้มปลาชะโด


ชนเผ่าผู้ไทย อาศัยในเขตตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมาชนเผ่าผู้ไทย ชาวผู้ไทยเป็นชาวจังหวัดนครพนมเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในเขต อำเภอเรณูนคร อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอนาหว้า เดิมตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไทย แคว้นสิบสองปันนา ชาวผู้ไทย ได้อพยพจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตามตำนานของชาวผู้ไทยเรณูนคร กล่าวไว้ในพงศาวดารล้านช้าง ว่าที่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่เจ้าลางเซิง ขุนเค็ก ขุนคาง ปกครองชาวผู้ไทย เมื่อเกิดทุกภิกขภัยพญากา หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชักชวนผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำแขวง สุวรรณเขตปัจจุบัน ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่าอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดพิพาทกันขึ้นต่อมาผู้ไทยถูกชาวข่าและจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผ่าบ้านเรือน และจับเอาพญาเตโชหัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า อย่าอยู่เมือวังวเลยให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเสียเถิด ชาวผู้ไทยโดยการนำมาของท้าวเพชร ท้าวสาย จึงพาชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เข้ามาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยการต่อเรือและแพล่องมาตามแม่น้ำโขง ข้ามมาขึ้นฝั่งที่บ้านพระกลางท่าเขตอำเภอธาตุพนม พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนมเวลานั้นได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ ดงหวายสายบ่อแก ชาวผู้ไทยจึงอพยพกันต่อไปและตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า เมืองเว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสายเป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองคนแรกและยกเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม ปัจจุบันคือ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพรม
เผ่าไทยกะเลิง อาศัยในเขต ตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา กะเลิงเป็นชาวกลุ่มน้อยที่เป็นชาติพันธุ์ ทางภาษากลุ่มหนึ่ง เช่นเดียวกับชนกลุ่มญ้อ โส้ แสก ผู้ไทยและเวียดนาม ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม กะเลิงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ชนกลุ่มกะเลิงได้อพยพมาตั้งแหล่งอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ ตั้งแต่มีการปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่ 3 และมีการอพยพครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดศึกกบฏฮ่อในปี พ.ศ. 2416 ปัจจุบันมีชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในประเทศไทย ที่จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร จังหวัดนครพนมมีกลุ่มอำเภอเมืองกลุ่มกะเลิงที่ บ้านกุรุคุ หนองหญ้าไซ นาปง ไทสามัคคี ตำบลกุรุคุ บ้านนาโพธิ์ บ้านผึ้ง วังกะแส นามน เทพนม ดงสว่าง บ้านขามเฒ่า ตำบลขามเฒ่า บ้านดงขวาง บ้านคำเตย หัวโพน ตำบลนาทรายบ้านเวินพระบาท บ้านยางนกเหาะ บ้านนาโสกใต้ บ้านนาโสกเหนือ บ้านม่วง อำเภอนาแก บ้านโพนสว่าง บ้านโพนแดง ตำบลนาแก บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอธาตุพนม บ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน บ้านดอนนาหงส์ อำเภอเรณูนครตำบลเรณูนคร ตำบลนางาม ตำบลนายอ อำเภอปลาปาก บ้านปลาปาก ตำบลปลาปาก บ้านโนนทัน บ้านผักอีตู่ บ้านนองกกคูณบ้านนาสะเดา บ้านโนนทันกลาง ตำบลหนองฮี บ้านนาเชือก ตำบลหนองเพาใหญ่ บ้านวังม่วง ตำบลมหาชัย


วิธีการดำเนินชีวิตของชาวกะเลิง เหมือนกับชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดถือฮีตสิบสอง ครองสิบสี่ เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และมีคติความเชื่อถือในเรื่องผี นับถือผีมเหสักข์หลักบ้าน วิญญาณบรรพบุรุษ ผีตาแหก ผีป่า ผีเขา ประเพณีที่ชาวกะเลิง บ้านกุรุคุ จัดทำเป็นงานบุญยิ่งใหญ่ คือ บุญเผวส (เทศน์มหาชาติ) ซึ่ง 3 ปี จะจัดให้มีขึ้นครั้งหนึ่ง เพราะสิ้นเปลืองค่าใช่จ่ายมากนอกจากนี้ก็มีประเพณีเลี้ยงผีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
สมัยก่อน นิยมสักเป็นรูปนกที่แก้มดังผญาว่า สักนกน้อยงอย แก้มตอดขี้ตาสักนกน้อยงอยแก้มจั่งงาม ปัจจุบันยังพบชายชาวกะเลิง สักลายที่ขาและตามตัวบ้าง แต่ก็มีการสักรูปนกที่แก้ม ชายชาวกะเลิงในปัจจุบันแต่งกายเหมือนชายชาวอีสานทั่วไป หญิงชาวกะเลิงในสมัยก่อนแต่งกายโดยนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่มีเชิง ไม่สวมเสื้อ ใช้แพเบี่ยงโต่งในเวลามีงานปกตินิยมเปลือยหน้าอกซึ่งเรียกว่า ปละนม ไว้ผมยาว และผมมวยสวมกำไลข้อมือ ข้อเท้า และตุ้มหูเงิน นิยมทัดดอกไม้ ประเทืองผมด้วยขมิ้น ทาหน้าด้วยหัวกลอยและข้าวสาร บางคนนิยมมาถูฟันให้ดำงาม สวมรองเท้าที่ประดิษฐ์เองใช้วัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ หนังสัตว์ กาบหมาก
เผ่าไทแสก อาศัยในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา แสก เป็นชนกลุ่มน้อยภาคอีสานเผ่าหนึ่งในจำนวนหลายๆ เผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย เดิมชาวแสกมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองรองขึ้นกับกรุงเว้ อยู่ทางตอนกลางของประเทศเวียดนามและจีน ชนเผ่าแสกเป็นชนเผ่าที่มีความอุสาหะบากบั่น ยึดมั่นในความสามัคคี เมื่อเห็นภูมิลำเนาเดิมไม่เหมาะสมจึงได้รวมสมัครพรรคพวกอพยพหาที่อยู่ใหม่ โดยอพยพลงมาตามลำน้ำโขงแล้วมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศลาว โดยมี ท้าว กายซุ และท้าวกายชา เป็นหัวหน้าในการอพยพ
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยากษัตริย์ของไทย ชาวแสก ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานมาอยู่ที่ป่าหายโศก การอพยพของชาวแสกแต่ละครั้งนั้น ไม่ได้ถูกบังคับหรือถูกข่มแหงแต่อยู่ใด เมื่อชาวแสกเห็นว่าบริเวณป่าหายโศก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรต่างๆ จึงได้อพยพกันมาประกอบอาชีพอยู่แห่งนี้เรื่อยมา จนถึงสมัยพระสุนทรเป็นเจ้าเมืองได้พิจารณาเห็นว่าชาวแสกมีความสามารถและความเข้มแข็ง สามารถปกครองตนเองได้จึงได้ยกฐานะของชาวแสกขึ้นเป็นเมืองโดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่จากป่าหายโศก เป็นเมืองอาจสามารถ หรือบ้านอาจสามารถ จนทุกวันนี้
เมื่อได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแล้ว ชาวแสกต่างพากันโยกย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินในต่างถิ่นอีกก็มี เช่น บ้านไผ่ล้อม (ตำบลอาจสามารถ) บ้านดงสมอ บ้านบะหว้า (อำเภอนาหว้า) ในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และที่บ้านโพธิ์คำ (ประเทศลาว) ชาวแสกเหล่านี้ ล้วนเป็นเชื้อสายและเป็นญาติพี่น้องกับชาวแสกที่บ้านอาจสามารถ จากคำบอกกล่าวของชาวแสกทราบว่า ปัจจุบันยังมีเผ่าแสกที่อยู่แคว้นสิบสองปันนาที่ประเทศจีน และที่สมุทรปราการ ประเทศไทยอีกด้วย

ไทยข่า อาศัยในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ประวัติความเป็นมา ไทยข่าเป็นชาวไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังพอมีหลงเหลือบ้างในพื้นที่จังหวัดนครพนมแต่ไม่ปรากฏให้เป็นชุมชนชัดเจนจะมีเพียงครอบครัวที่แทรกอยู่ในชุมชนอยู่ในพื้นที่อำเภอนาแกตามหมู่บ้านแถบเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อกับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอดงหลวง จะมีชาวข่าอาศัยอยู่มาก ในอดีตจังหวัดมุกดาหารเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ขึ้นต่อจังหวัดนครพนมรวมถึงอำเภอดงหลวงด้วย ปัจจุบันอำเภอมุกดาหารได้เลื่อนเป็นจังหวัด และอำเภอดงหลงก็ไปขึ้นเป็นสังกัดมุกดาหารด้วย ชุมชนไทยข่าในจังหวัดนครพนมจึงไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด จึงมีเพียงกระจัดกระจายเป็นบางครอบครัวในชุมชนต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ไทยข่ามีถิ่นดั้งเดิมอยู่แขวงสุวรรณเขตสาละวัน และอัตปือ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา
นักมนุษยวิทยาถือว่า ชาวไทยข่าเป็นเผ่าดั้งเดิมในแถบกลุ่มแม่น้ำโขง สืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลง ภาษาของชาวไทยข่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรอาเชียติก ในสมัยมอญเขมร ชาวไทยข่ามิได้เรียกตัวเองว่าชาวไทยข่า แต่จะเรียกตัวเองว่าพวกบรู คำว่า ข่า อาจมาจาก ข้าทาส ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียง ข่าทาส เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดพวกบรูมาเป็นข้าทาสรับใช้กันมาก จึงเรียกกันมาว่าไทยข่า
ชนเผ่าไทยอีสาน
ไทยอีสาน เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสาน เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป
เรื่องถิ่นเดิมของชาติพันธุ์ลาวมีแนวคิด 2 อย่าง ซึ่งก็มีเหตุผลสนับสนุนพอ ๆ กันคือ
1. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานนี่เอง ไม่ได้อพยพมาจากไหน ถ้าเหมาว่าคนบ้านเชียงคือลาว ก็แสดงว่าลาวมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเชียงมากกว่า 5600 ปีมาแล้ว เพราะอายุหม้อบ้านเชียงที่พิสูจน์โดยวิธีคาร์บอน 14 บอกว่าหม้อบ้านเชียงอายุเก่าแก่ถึง 5600 ปี กว่าคนบ้านเชียงจะเริ่มตีหม้อใช้ในครัวเรือน ก็ต้องสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยก่อนหน้านั้นแล้ว แนวความคิดนี้ยังบอกอีกว่านอกจากลาวจะอยู่อีสานแล้ว ยังกระจายไปอยู่ที่อื่นอีก เช่น เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ยุโรป แล้วข้ามไปอเมริกาเป็นพวกอินเดียนแดง
2. ถิ่นเดิมของลาวอยู่ที่อีสานและมีมาจากที่อื่นด้วย (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 : 69) แนวคิดนี้เชื่อว่า คนอีสานน่าจะมีอยู่แล้วในดินแดนที่เรียกว่า “อีสาน” หรือส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิ โดยประมาณ 10,000.- ปีที่ผ่านมา นักมานุษยวิทยา และนักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่าได้มีการอพยพของพวกละว้า หรือข่าลงมาอยู่ในแดนสุวรรณภูมินับเป็นคนพวกแรกที่เข้ามา พอเข้ามาอยู่สุวรรณภูมิก็แบ่งเป็นอาณาจักรใหญ่ ๆ 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีนครปฐมเป็นราชธานี มีอาณาเขตถึงเมืองละโว้(ลพบุรี) อาณาจักรที่สองคือโยนก เมืองหลวงได้แก่เมืองเงินยาง หรือเชียงแสน มีเขตแดนขึ้นไปถึงเมืองชะเลียงและเมืองเขิน อาณาจักรที่สามคือโคตรบูร ได้แก่บรรดาชาวข่าที่มาสร้างอาณาจักรในลุ่มน้ำโขง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโคตรบูรณ์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงจากแนวคิดที่ 2 จะเห็นว่าในคำรวมที่นักมานุษยวิทยา และ นักประวัติศาสตร์เรียกว่า “คนอีสาน” นั้นน่าจะมีคนหลายกลุ่มหลายชาติพันธุ์ปะปนกันอยู่และในหลายกลุ่มนั้นน่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ “ลาว”อยู่ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานจากงานเขียนของนักวิชาการบางคนที่กล่าวว่า หลังจากพวกละว้าหรือพวกข่าหมดอำนาจลง ดินแดนอีสานก็ถูกครอบครองโดยขอมและอ้ายลาว ต่อมาขอมก็เสื่อมอำนาจลง ดินแดนส่วนนี้จึงถูกครอบครองโดยอ้ายลาวมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าเป็นอย่างนี้จริงจึงกล้าสรุปได้ว่า “อ้ายลาว” ก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ลาวนั่นเอง อ้ายลาวเป็นสาขาหนึ่งของมองโกลเดิม อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียงและแม่น้ำเหลือง ก่อนที่จะอพยพเข้าครอบครองอีสานนั้นได้รวมตัวกันตั้งเมืองสำคัญขึ้น 4เมือง คือ นครลุง นครเงี้ยว และนครปา ต่อมากลุ่มอ้ายลาวเกิดสู้รบกับจีน สาเหตุเพราะจีนมาแย่งดินแดน อ้ายลาวสู้จีนไม่ได้จึงอพยพลงใต้ถอยร่นลงมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาตั้งอาณาจักรอยู่บริเวณยูนานในปัจจุบัน มีเมืองแถนเป็นศูนย์กลางสำคัญ แต่ก็ยังถูกรุกรานแย่งชิงจากจีนไม่หยุดหย่อน อ้ายลาวจึงอพยพลงมาตั้งอาณาจักรใหม่อีก คือ อาณาจักรหนองแส มีขุนบรมวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของอ้ายลาวเป็นผู้ปกครองขุนบรมขึ้นครองราชย์ พ.ศ.1272 ได้รวบรวมผู้คนเป็นปึกแผ่น และส่งลูกหลานไปครองเมืองต่าง ๆ ในบริเวณนั้นลูกหลานที่ส่งไปครองเมืองมี 7 คน คือ
1. ขุนลอ ครองเมืองชวา คือ หลวงพระบาง
2. ขุนยีผาลาน ครองเมืองหอแตหรือสิบสองพันนา
3. ขุนสามจูสง ครองเมืองปะกันหรือหัวพันทั้งห้าทั้งหก
4. ขุนไขสง ครองเมืองสุวรรณโดมคำ
5. ขุนงัวอิน ครองเมืองอโยธยา (สุโขทัย)
6. ขุนลกกลม ครองเมืองมอญ คือ หงสาวดี
7. ขุนเจ็ดเจือง ครองเมืองเชียงขวางหรือเมืองพวนพี่น้องอ้ายลาวทั้ง 7 ปกครองบ้านเมืองแบบเมืองพี่เมืองน้องมีอะไรก็ช่วยเหลือเจือจุนกันโดยยึดมั่นในคำสาบานที่คำสัตย์ปฏิญาณร่วมกันว่า “ไผรบราแย่งแผ่นดินกันขอให้ฟ้าผ่ามันตาย”สำหรับ กลุ่มอ้ายลาวนี้น่าจะเกี่ยวโยงเป็นกลุ่มเดียวกับคนชาติพันธุ์ลาวในอีสาน น่าจะเป็นกลุ่มลาวเชียงและลาวเวียง คือ กลุ่มจากอาณาจักรล้านนา (ลาวเชียง) และกลุ่มจากอาณาจักร ล้านช้าง (ลาวเวียง) ในพุทธศตวรรษที่ 17-18 เริ่มตั้งแต่สร้างเมืองชวาหรือเมืองหลวงพระบาง มีกษัตริย์ปกครองติดต่อกันมาถึง 22 องค์ กษัตริย์องค์หนึ่งคือพระเจ้าเงี้ยว ได้กำเนิดลูกชายคือพระเจ้าฟ้างุ้ม พระเจ้าฟ้างุ้ม เกิดมามีฟันเต็มปาก เสนาอำมาตย์ในราชสำนักเห็นเป็นอาเพศจึงทูลให้พระบิดานำไป “ล่องโขง” คือลอยแพไปตามลำน้ำโขง มีพระเขมรรูปหนึ่งพบเข้าเกิดเมตตาเอาพระเจ้าฟ้างุ้มไปชุบเลี้ยงจนเติบใหญ่แล้วถวายตัวในราชสำนักเขมรพระเจ้าฟ้างุ้มได้รับการศึกษาอบรมอย่างองค์ชายเขมร และทรงเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมรด้วย เมื่อพระเจ้าฟ้าเงี้ยวสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าคำเสียวผู้เป็นน้องชายขึ้นครองราชย์แทน พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพจากเขมรทวงราชสมบัติของบิดาคืน สามารถโจมตีเมืองหลวงพระบางได้ เจ้าฟ้าคำเลียวเสียทีแก่หลานสู้ไม่ได้ น้อยใจจึงกินยาพิษตาย เจ้าฟ้างุ้มจึงขึ้นครองเมืองหลวงพระบางเมื่อ พ.ศ. 1896 ทรงพระนามว่า “พระยาฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี” พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถมาก เป็นนักรบผู้กล้าหาญชาญฉลาด ในช่วงนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นกษัตริย์ พระเจ้าฟ้างุ้มได้ขยายอำนาจแผ่ไปถึงญวน ลงมาถึงส่วนหนึ่งของเขมรตอนล่างและเข้ามาสู่ดินแดนอีสานได้อพยพผู้คนจากเวียงจันทน์มาอยู่บริเวณเมืองหนองหาน และหนองหานน้อยประมาณ 10,000 คน พระเจ้าฟ้างุ้มครองราชย์และแผ่แสนยานุภาพเรื่อยมาจนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าฟ้างุ้มคิดแผ่แสนยานุภาพเข้าครอบครองกรุงศรีอยุธยา ทำให้พระเจ้าอู่ทองต้องเจรจาหย่าศึกโดยอ้างความเป็นญาติร่วมวงศ์ขุนบรมเดียวกันว่า “เฮาหากแมนอ้ายน้องกันมาแต่ขุนบรมพุ้น หากเจ้าเป็นลูกหลานขุนบรมจริง เฮาอย่ามารบราฆ่าฟันกันเลย ดินแดนส่วนที่อยู่เลยดงสามเส้า (ดงพญาไฟ ไปจดภูพระยายาฝอและแดนเมืองนครไทยให้เป็นของเจ้า ส่วนที่อยู่เลยดงพญาไฟลงมาให้เป็นของข้อย แล้วจัดส่งลูกสาวไปจัดที่อยู่ที่นอนให้” (ทองสืบ ศุภมารค: อ้างใน สมเด็จพระสังฆราชลาวง2528:43)พระเจ้าอู่ทองยัง ได้ส่งช้างพลาย 51 เชือก ช้างพัง 50 เชือก เงินสองหมื่น นอแรดแสนนอ กับเครื่องบรรณาการอื่น ๆ อีกอย่างละ 100 ให้แก่พระเจ้าฟ้างุ้ม จากหลักฐานนี้อาณาจักรลานช้างจึงมีอำนาจครอบครองดินแดนอีสาน ยกเว้นเมืองนครราชสีมาที่ยังคงเป็นอิสระอยู่เพราะในหนังสือ “ King of Laos ” ระบุว่าในปี ค.ศ. 1385 อาณาเขตกรุงล้านช้างทางทิศตะวันตกติดต่อกับโคราช(นครราชสีมา) ดินแดนอีสานส่วนใหญ่ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าฟ้างุ้มเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (ลาวเขียนไชยเสฏฐามหาราช) ขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2091-2114 ได้ย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางมาอยู่เวียงจันทน์ พระองค์ได้ทำสัญญาพันธมิตรกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา และทั้งสองได้สร้างพระธาตุศรีสองรัก ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นเขตแดนระหว่างสองอาณาจักร กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างวัดองค์ดื้อ และศาสนสถานต่าง ๆ ในเขตเมืองหนองคาย และบูรณะพระธาตุพนมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชสนใจดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงมากกว่าสมัยก่อน ๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2250กิดการแก่งแย่งอำนาจขึ้นในลาว ทำให้ลาวถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาจักร มีหลวงพระบางและเวียงจันทน์เป็นศูนย์กลาง และในปี พ.ศ. 2256าเขตเวียงจันทน์ทางใต้ได้ถูกแบ่งแยกโดยเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (เจ้าหน่อกษัตริย์) มีเมืองนครจำปาศักดิ์เป็นเมืองหลวง ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ได้ส่งจารย์แก้ว (เจ้าแก้วมงคล) มาเป็นเจ้าเมืองท่งหรือเมืองทุ่ง ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นับว่านครจำปาศักดิ์ได้ขยายอำนาจเข้ามาสู่ลุ่มแม่น้ำมูล – ชี ตอนกลาง เวลาต่อมาลูกหลานเจ้าเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิได้สร้างเมืองต่าง ๆ ในดินแดนอีสานมากกว่า 15 เมือง (อภิศักดิ์ โสมอินทร์. 2540 : 71) เช่น สุวรรณภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม ชนบทขอนแก่น ฯ ล ฯต่อมาเกิดความไม่ลงรอยแตกแยกกัน ระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ลาวผู้คนได้อพยพหนีภัยการเมืองจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้าสู่อีสานเหนือ กลุ่มสำคัญได้แก่ กลุ่มเจ้าผ้าขาว โสมพะมิตร
กลุ่มนี้อพยพผู้คนมาตั้งอยู่ริ่มน้ำปาว คือ บ้านแก่งส้มโฮง (สำโรง) เจ้าโสมพะมิตรได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 1ที่กรุงเทพ ฯ เพื่อถวายความจงรักภักดี และเนื่องจากมีกำลังคนถึง4,000 คน รัลกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้ยกบ้านแก่งส้มโฮงเป็นเมืองกาฬสินธุ์ขึ้นตรงต่อกรุงเทพและเจ้าโสมพะมิตรได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
กลุ่มพระวอพระตา
พระวอพระตาเป็นเสนาบดีลาว เกิดขัดใจกษัตริย์เวียงจันทน์ อพยพผู้คนข้ามโขงมาอยู่ที่หนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้ว ตั้งชื่อเมืองว่า “นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน” แต่ได้ถูกกองทัพลาวตามตีจนพระตาตายที่รบ ส่วนพระวอได้พาบริวารไพร่พลหนีลงไปตามลำแม่น้ำโขงจนถึงดอนมดแดง และต่อมาลูกหลานของพระวอได้ขอตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี และเมืองยโสธร
กลุ่มท้าวแล
ท้าวแลและสมัครพรรคพวกได้อพยพหนีภัยการเมืองจากเวียงจันทน์ มาอยู่ในท้องที่เมืองนครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายไปทางตอนเหนือแล้วขอตั้งเป็นเมืองชัยภูมิ ท้าวแลได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ว่า “พระภักดีชุมพล” ต่อมาได้เลื่อนเป็น “พระยาภักดีชุมพล”การตั้งบ้านเมืองในดินแดนอีสานตั้งแต่พุทธศตวรรษ 24-25 หรือตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากกว่า 100 เมือง มีแบบแผนการปกครองตามแบบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์คือมีตำแหน่งอาชญาสี่คือ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ส่วนเมืองในเขตอีสานใต้คือนครราชสีมาและหัวเมืองเขมรป่าดง ได้ใช้แบบแผนการปกครองแบบกรุงเทพ ฯ คือมีเจ้าเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง และผู้ช่วยราชการเมืองจากหลักฐานของลาวสามารถหาได้กลุ่มชาติพันธุ์ลาว ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอีสานมานานแล้ว จึงสรุปได้ว่า คนในท้องถิ่นอีสาน หรือบริเวณนี้เป็นเชื้อสายลาว ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน สืบทอดสายธารทางประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และตลอดไปในอนาคตอีกนานเท่านาน
วัฒนธรรมการแต่งกาย

เผ่าไทยลาว(ไทยอีสาน) นิยมผ้าฝ้ายมาแต่เดิม และพัฒนาผ้าฝ้ายเป็นการทอผ้ามัดหมี่ลวดลายต่าง ๆ แหล่งผ้าฝ้ายที่มีมานานแล้วคือกลุ่มบ้านวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ใบไม้ แก่นไม้ผ้าซิ่นแขนกระบอกผ้ายย้อมคราม หรือมัดหมี่ เป็นที่นิยมของชนเผ่าไทยลาวกลุ่มที่แต่งกายแบบดั้งเดิมจริง ๆ นิยมแต่งด้วยผ้าย้อมครามทั้งเสื้อและผ้าซิ่น แต่ไม่สวยเด่นเท่าผ้ามัดหมี่ เพราะมีสีดำมือทั้งตัว การพัฒนาการของการทอผ้ามัดหมี่ ทำให้ไทยลาวในปัจจุบันสามารถทอผ้าลายหมี่คั่นหลายสี เช่น สีเหลือง สีแดง และนิยมสีฉูดฉาด นอกจากนี้ชาวเผ่าไทยลาวยังนิยมทอผ้าห่ม ผ้าจ่องลวดลายสวยงาม ซึ่งสามารถปรับแต่งมาเป็นผ้าสไบโชว์ลวดลายของผ้าประกอบเสื้อผ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องประดับของชาวเผ่าไทยลาวนิยมเครื่องเงินเช่นเดียวกับกลุ่มอื่น
ผ้าซิ่น ในขณะที่เอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กลุ่มผู้ไทย กลุ่มย้อ กลุ่มกะเลิง แต่เดิมนิยมผ้าซิ่นมีเชิงในตัวที่เรียกว่า ซิ่นตีนเต๊าะ แต่เผ่านี้กลับนิยมซิ่นไม่มีเชิงทั้งที่เป็นผ้าเข็น(ทอ) และผ้ามัดหมี่ฝ้าย หรือไหม
เสื้อ แบบเสื้อของชนเผ่าไทยลาว แม้เสื้อจะเป็นเสื้อย้อมสีน้ำเงินแก่ แบบเสื้อคล้ายกับชนเผ่าอื่น ๆ แต่เนื่องจากเป็นชนเผ่าที่กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ และรับเอาวัฒนธรรมจากภาคกลางได้รวดเร็วจึงทำให้เผ่าไทยลาวมีแบบเสื้อแตกต่างไปจากชนเผ่าอื่น ๆ บ้าง เช่น เสื้อแขนกระบอก คือทอจากผ้าแพรตกแต่งให้มีจีบมีระบาย สวมสร้อยที่เป็นรัตนชาติ เช่น มุก มากกว่าการสวมสร้อยเงิน สอดชายเสื้อในซิ่นหมี่ไหม คาดด้วยเข็มขัดเงิน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของชนเผ่าไทยลาว คือการนิยมผ้าขะม้าทั้งชายและหญิง ผ้าขะม้า(ขาวม้า) ที่งดงามคือผ้าใส่ปลาไหล มีสีเขียว-แดง-เหลือง ตามแนวยาวไม่ใช่เป็นตาหมากรุก ซึ่งเป็นผ้าสมัยใหม่ ผ้าใส่ปลาไหลสามารถคัดแปลงเป็นผ้าคล้องคอ ผ้าสไบของสตรีในการเสริมการแต่งกายให้งดงามขึ้น

แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/index.html

http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/02.html

http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/03.html

http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/04.html

http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/05.html

http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/06.html

http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/07.html

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

เขียนโดย ยุ้ย

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน

การแต่งกายประจำภาคอีสาน
ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว
แหล่งที่มาของข้อมูล


วนอุทยานเขากระโดง

เขียนโดย ยุ้ย


สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์


วนอุทยานเขากระโดง


ข้อมูลทั่วไป
วนอุทยานเขากระโดงอยู่ในท้องที่ตำบลเสม็ด ตำบลอิสานและตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากอำเภอเมือง 6 กิโลเมตร บนเส้นทางสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย (ทางหลวงหมายเลข 219) เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและ เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟโบราณ ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน ปากปล่องภูเขาไฟมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำลึก มีน้ำขังตลอดปี ยอดสูงสุดประมาณ 265 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นที่ประดิษฐาน “พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์และมีปรางค์กู่โบราณ ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง วนอุทยานนี้มีพันธุ์ไม้พื้นเมืองน่าศึกษาหลายชนิด การเดินทางขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได หรือขับรถขึ้นไปถึงยอดเขาระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ

การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 219 บนเส้นทางสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย ประมาณ 6 กิโลเมตร
วนอุทยานเขากระโดงมีเนื้อที่ประมาณ 1,450 ไร่ เนื้อที่ส่วนใหญ่ของป่าเป็นที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2526 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-สุรินทร์)
- ทิศใต้ จดที่สาธารณะประโยชน์ตามนสล.4130/2515 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 และนสล.ฉบับที่ 46001/2543 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2543
- ทิศตะวันออก จดบ้านโคกเขา
- ทิศตะวันตก จดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) ระวางแผนที่ 5638 IV พิกัดที่ทำการ (UTM) 95495E 52390 N พิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด 14 องศา 56 ลิปดาเหนือ และลองติจูด 103 องศา 5 ลิปดาตะวันออก

ลักษณะภูมิประเทศ
วนอุทยานเขากระโดงมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเนินเขา สภาพป่าเป็นป่าแดง หรือป่าเต็งรัง มีเนินเขาขนาดเล็ก 2 ลูกติดกัน สูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 60 เมตร เนินทาง ทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนเนินทางทิศเหนือเรียกว่า เขากระโดง ซึ่งเนินเขาทั้งสองนี้เกิดจากการทับถมของเศษหินภูเขาไฟที่พ่นปะทุออกมาทางทิศตะวันออก และตะวันตก มีลักษณะเกือบเป็นที่ราบไม่เห็นร่องรอยชัดเจน รอบ ๆ เนินเขาเป็นเนินธารลาวา ซึ่งเป็นพืดหิน จากการสำรวจความหนาของชั้นลาวาจากการระเบิดของเหมืองหิน พบว่า มีความหนามากกว่า 20 เมตร และแผ่กระจายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของยอดเขามากกว่าทางทิศทางอื่น



ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศของป่าบริเวณเขากระโดงแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
1.ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน
2.ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
3.ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

พืชพรรณและสัตว์ป่า
-ทรัพยากรป่าไม้
ลักษณะพืชพันธุ์ธรรมชาติจะเป็นพืชพันธุ์สวันนา (Savanna Biochote) เป็นหญ้าสูงและต้นไม้ขึ้นกระจัดกระจาย พืชพันธุ์ที่เกิดในเขตนี้จะเจริญเติบโตรวดเร็ว สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง ซึ่งป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยทั่วไป ป่าเต็งรังมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง ฤดูแล้งจะผลัดใบ ส่วนใหญ่ปรากฏสลับกันไปกับป่าเบญจพรรณ มักกระจายอยู่ตามสันเนิน พื้นที่ราบที่เป็นทรายจัด หรือบนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร
-ทรัพยากรสัตว์ป่า
สัตว์ป่า จากการสำรวจสัตว์ป่าในวนอุทยานเขากระโดงพบว่า สัตว์ที่พบมากจะเป็นประเภทสัตว์ปีก คือ พวกนกต่างๆ ซึ่งนกส่วนใหญ่ที่พบเป็นนกประจำถิ่น เช่น นกแอ่นบ้าน นกกินปลีอกเหลือง นกเอี้ยงสาลิกา เป็นต้น ซึ่งนกจำพวกนี้สามารถพบได้ง่ายทั่วไป ในบริเวณพื้นที่วนอุทยานเขากระโดง ส่วนนกอพยพจะสามารถพบได้มากในช่วงฤดูหนาว และบริเวณที่จะสามารถพบนกได้บ่อยที่สุดคือบริเวณริมน้ำ นอกจากนกแล้วสัตว์ที่สามารถพบได้ในพื้นที่ก็จะเป็นพวกสัตว์ขนาดเล็ก พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กระรอกหลากสีกระรอกบินจิ๋วท้องขาว กระแตธรรมดา กระเล็น อีเห็นธรรมดา พังพอนธรรมดา กระต่ายป่า อ้นเล็ก หนูพุกเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน เช่น เต่าเหลือง เต่านา กิ้งก่าสวน กิ้งก่าหัวแดง งูสิงธรรมดา งูเห่าปลวก งูเห่าอีสานพ่นพิษ งูหลาม งูลายสาบคอแดง งูลายสาบดอกหญ้า งูเขียวพระอินทร์


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style2/default.asp

http://www.sadoodta.com/travel.php?subaction=showfull&id=1195635640&archive=&start_from=&ucat=25

เขียนโดย ยุ้ย