ภาษาอีสาน

เขียนโดย ยุ้ย

ภาษาประจำภาคอีสาน
ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมร สำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลย ที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่ง ชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ ตราบจนปัจจุบัน เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนม ถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือ ลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี ถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้ เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกัน
ในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้ว ก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้


คำกริยา
-เมียบ้าน กลับบ้าน
- อีหลีบ่ จริงหรือ
- ศูนย์ โกรธ
- อีหลี จริง
-ไปบ่ ไปไหม
-แม่นบ่ ใช่หรือ
- บ่ไป ไม่ไป
- สวย สาย
-ไปนำ ไปตามตัว
-มิด เงียบ, จม
- เบิ่ง ดู
- จอบ แอบดู
- ไปนำแน่ ไปด้วย
- ไปไส ไปไหน
- เซา หยุด
- ไปโลด ไปเลย
- แซบ อร่อย
- หั่นเด้ นั่นงัย
- ยาง เดิน
- เว่า พูด

คำนาม
- พืช-ผลไม้
- บักหุ่ง มะละกอ
- บักมี่ ขนุน
- บักหุ่งเหิม มะละกอใกล้สุก
- มันเภา มันแกว
- บักเขียบ น้อยหน่า
- บักทัน พุทธา
- ไน เมล็ด/เม็ด
- บักอึอ ฟักทอง
- บักต้อง กระท้อน
- บักสีดา ฝรั่ง
- คันคาก คางคก
- ปลาแดก ปลาร้า
- หมาว้อ หมาบ้า
- เกิบ รองเท้า
- บ่วง ช้อน
- จอก แก้วน้ำ
- บักจก จอบ

คำสรรพนาม

- เซียง คำนำหน้าคนที่เคยบวชเณร ทิด คำนำหน้าคนที่เคยบวชพระ
- เอื้อย พี่สาว อ้าย พี่ชาย
- ข่อย ข้าพเจ้า เพิน ท่าน/เขา
- ซาว 20 แข่ว ฟัน
- ดัง จมูก สบ ริมฝีปาก


แหล่งที่มาของข้อมูล
http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/language1.htm
http://entertain.tidtam.com/data/12/0338-1.html#top

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น